26 กุมภาพันธ์ 2563
ช่อง 3 สนับสนุนการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน “สานอนาคตการศึกษา-CONNEXT ED” มุ่งพัฒนาเยาวชนให้เป็น “เด็กดี และเด็กเก่ง”
“โครงการสานอนาคตการศึกษา-CONNEXT ED” ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ
ด้านการศึกษาพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำ ผสานความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ
ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ก่อตั้งโดย 12 องค์กรเอกชนชั้นนำ และขยายความร่วมมือเพิ่มขึ้นเป็น 33 องค์กร
ในปัจจุบัน ร่วมผนึกกำลังสร้างรูปแบบการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ “School Partner” นำศักยภาพความเป็นผู้นำของแต่ละองค์กร ลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ครอบครัว และชุมชน เชื่อมโยงสู่การจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนและชุมชนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยยึดยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้านของโครงการในการยกระดับการจัดการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตนเองสู่การเป็น “เด็กดี และเด็กเก่ง” ของประเทศอย่างยั่งยืน
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และกลุ่มบีอีซี ในฐานะ 1 ใน 33 องค์กรที่เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาด้านการศึกษาและเข้าร่วม “โครงการสานอนาคตการศึกษา - CONNEXT ED” ช่อง 3 และกลุ่มบีอีซี ได้นำศักยภาพและประสบการณ์อันยาวนานของความเป็นสื่อมวลชนมาใช้ในการสนับสนุน และมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์โครงการฯ ตลอดจนเผยแพร่วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และการดำเนินงานของโครงการฯ และองค์กรที่เข้าร่วมโครงการฯ สู่สาธารณชนเพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ให้สังคมไทยได้เห็นมุมมองของการศึกษาในรูปแบบใหม่ได้ชัดเจนขึ้น นำไปสู่การร่วมกันพัฒนาด้านการศึกษาอย่างยั่งยืน
โดยเมื่อวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ช่อง 3 นำโดย คุณสุภิดา ฉัตราภิรักษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ แผนกกิจกรรมเพื่อสังคม และคณะทำงาน พร้อมด้วยทีมข่าวสังคมของช่อง 3 ลงพื้นที่ทำสกู๊ปข่าว ณ โรงเรียนวัดอมรวดี (อมรวิทยาคาร) อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โรงเรียนประถมขนาดกลาง เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล- ประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ภายใต้การดูแลของ School Partner จากธนาคารไทยพาณิชย์ หนึ่งใน 33 องค์กร ที่นำบุคลากรของโรงเรียนไปเรียนรู้ Module: Whole School (การเปลี่ยนทั้งระบบ) นวัตกรรมด้านการศึกษาจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ โรงเรียนต้นแบบด้านการศึกษา เพื่อนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ จิตศึกษา พัฒนาการเรียนรู้จากภายใน ฝึกฝนให้มีสมาธิ สติ รู้เท่าทันอารมณ์ เคารพในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือผู้อื่นและพัฒนาสังคม ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมปรนนิบัติสิ่งแวดล้อม เก็บขยะในโรงเรียน, กิจกรรม Body Scan เพื่อฝึกสมาธิและสร้างความผ่อนคลาย, กิจกรรมรักการอ่านและการฟัง เป็นต้น ควบคู่ไปกับระบบการเรียนรู้แบบ PBL-Problem-based Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นรากฐาน เพื่อฝึกการแก้ปัญหา นำไปสู่การค้นคว้าอิสระ และการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การเล่านิทานหรือเรื่องราวสถานการณ์ปัจจุบัน และเปิดโอกาสให้นักเรียน ตั้งคำถาม และแสดงความคิดเห็น การจัดนิทรรศการแสดงผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นต้น และการเรียนรู้แบบ PLC- Professional Learning Community การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนทั้งภายในและภายนอก ให้มีทักษะชีวิต สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตัวเองได้ โดยเน้นการลงมือปฏิบัติจริง เช่น ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเพื่อคิดค้นสูตรทำอาหารใหม่โดยใช้วัตถุดิบในชุมชน นำไปสู่การส่งเสริมการเกิดนวัตกรรม โดยยังคงให้ความสำคัญกับวิชาหลักตามการเรียนรู้ปกติควบคู่ไปด้วย สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ นอกจากเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแล้ว คุณครูได้เปลี่ยนวิธีการสอนเป็นแบบ Active learning ด้วยการเปลี่ยนท่าทีในการสอน สื่อสารด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล แสดงออกอย่างใจเย็น เป็นมิตร และรับฟังนักเรียนมากขึ้น เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้
โดยหลังเข้าร่วมโครงการ ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปในทิศทางที่ดี นักเรียนอยากมาโรงเรียน
มีความสุขกับการเรียน รู้จักหน้าที่ของตนเอง อย่างเช่น นักเรียนทั้งโรงเรียนสามารถเข้าแถวตอนเช้าด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องใช้กระดิ่งเตือน สนใจการเรียนรู้ รู้จักการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ มีผลการเรียนที่ดีขึ้น ตลอดจนมีความกล้าคิด กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างเห็นได้ชัด มีน้ำใจ รู้จักการแบ่งปัน
ลดพฤติกรรมก้าวร้าว ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ยังมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้นอีกด้วย
คุณครูแดง คุณครูท่านหนึ่งของโรงเรียนที่ได้เกษียณอายุไปแล้ว แต่ยังมีพลังกายใจที่ทำเพื่อการศึกษาไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวว่า “ที่ผ่านมาพึ่งรู้ว่าการสอนโดยไม่ต้องดุ ไม่ต้องว่า เด็กก็สามารถทำได้ดีเหมือนกัน”
อีกทั้ง ผอ.อนงค์ อรุณราช ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “เราจะไม่มีการทิ้งเด็กไว้ข้างหลังและจะไม่สนใจแต่เด็กเก่ง ไม่เลือกปฏิบัติ และจะไม่เลือกพัฒนาเฉพาะด้าน แต่จะพัฒนาเด็ก ๆ ในทุกด้านให้ดีไปพร้อมกันทุกคน”
ทั้งนี้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และกลุ่มบีอีซี ขอร่วมสนับสนุน และเป็นกำลังใจให้กับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตลอดจนขอเป็นกำลังใจให้กับคุณครูและบุคลากรทางด้านการศึกษาทั่วประเทศ และช่อง 3 จะยังคงมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมด้านการศึกษา และให้ความสำคัญกับสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
ด้านการศึกษาพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำ ผสานความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ
ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ก่อตั้งโดย 12 องค์กรเอกชนชั้นนำ และขยายความร่วมมือเพิ่มขึ้นเป็น 33 องค์กร
ในปัจจุบัน ร่วมผนึกกำลังสร้างรูปแบบการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ “School Partner” นำศักยภาพความเป็นผู้นำของแต่ละองค์กร ลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ครอบครัว และชุมชน เชื่อมโยงสู่การจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนและชุมชนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยยึดยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้านของโครงการในการยกระดับการจัดการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตนเองสู่การเป็น “เด็กดี และเด็กเก่ง” ของประเทศอย่างยั่งยืน
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และกลุ่มบีอีซี ในฐานะ 1 ใน 33 องค์กรที่เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาด้านการศึกษาและเข้าร่วม “โครงการสานอนาคตการศึกษา - CONNEXT ED” ช่อง 3 และกลุ่มบีอีซี ได้นำศักยภาพและประสบการณ์อันยาวนานของความเป็นสื่อมวลชนมาใช้ในการสนับสนุน และมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์โครงการฯ ตลอดจนเผยแพร่วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และการดำเนินงานของโครงการฯ และองค์กรที่เข้าร่วมโครงการฯ สู่สาธารณชนเพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ให้สังคมไทยได้เห็นมุมมองของการศึกษาในรูปแบบใหม่ได้ชัดเจนขึ้น นำไปสู่การร่วมกันพัฒนาด้านการศึกษาอย่างยั่งยืน
โดยเมื่อวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ช่อง 3 นำโดย คุณสุภิดา ฉัตราภิรักษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ แผนกกิจกรรมเพื่อสังคม และคณะทำงาน พร้อมด้วยทีมข่าวสังคมของช่อง 3 ลงพื้นที่ทำสกู๊ปข่าว ณ โรงเรียนวัดอมรวดี (อมรวิทยาคาร) อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โรงเรียนประถมขนาดกลาง เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล- ประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ภายใต้การดูแลของ School Partner จากธนาคารไทยพาณิชย์ หนึ่งใน 33 องค์กร ที่นำบุคลากรของโรงเรียนไปเรียนรู้ Module: Whole School (การเปลี่ยนทั้งระบบ) นวัตกรรมด้านการศึกษาจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ โรงเรียนต้นแบบด้านการศึกษา เพื่อนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ จิตศึกษา พัฒนาการเรียนรู้จากภายใน ฝึกฝนให้มีสมาธิ สติ รู้เท่าทันอารมณ์ เคารพในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือผู้อื่นและพัฒนาสังคม ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมปรนนิบัติสิ่งแวดล้อม เก็บขยะในโรงเรียน, กิจกรรม Body Scan เพื่อฝึกสมาธิและสร้างความผ่อนคลาย, กิจกรรมรักการอ่านและการฟัง เป็นต้น ควบคู่ไปกับระบบการเรียนรู้แบบ PBL-Problem-based Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นรากฐาน เพื่อฝึกการแก้ปัญหา นำไปสู่การค้นคว้าอิสระ และการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การเล่านิทานหรือเรื่องราวสถานการณ์ปัจจุบัน และเปิดโอกาสให้นักเรียน ตั้งคำถาม และแสดงความคิดเห็น การจัดนิทรรศการแสดงผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นต้น และการเรียนรู้แบบ PLC- Professional Learning Community การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนทั้งภายในและภายนอก ให้มีทักษะชีวิต สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตัวเองได้ โดยเน้นการลงมือปฏิบัติจริง เช่น ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเพื่อคิดค้นสูตรทำอาหารใหม่โดยใช้วัตถุดิบในชุมชน นำไปสู่การส่งเสริมการเกิดนวัตกรรม โดยยังคงให้ความสำคัญกับวิชาหลักตามการเรียนรู้ปกติควบคู่ไปด้วย สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ นอกจากเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแล้ว คุณครูได้เปลี่ยนวิธีการสอนเป็นแบบ Active learning ด้วยการเปลี่ยนท่าทีในการสอน สื่อสารด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล แสดงออกอย่างใจเย็น เป็นมิตร และรับฟังนักเรียนมากขึ้น เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้
โดยหลังเข้าร่วมโครงการ ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปในทิศทางที่ดี นักเรียนอยากมาโรงเรียน
มีความสุขกับการเรียน รู้จักหน้าที่ของตนเอง อย่างเช่น นักเรียนทั้งโรงเรียนสามารถเข้าแถวตอนเช้าด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องใช้กระดิ่งเตือน สนใจการเรียนรู้ รู้จักการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ มีผลการเรียนที่ดีขึ้น ตลอดจนมีความกล้าคิด กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างเห็นได้ชัด มีน้ำใจ รู้จักการแบ่งปัน
ลดพฤติกรรมก้าวร้าว ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ยังมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้นอีกด้วย
คุณครูแดง คุณครูท่านหนึ่งของโรงเรียนที่ได้เกษียณอายุไปแล้ว แต่ยังมีพลังกายใจที่ทำเพื่อการศึกษาไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวว่า “ที่ผ่านมาพึ่งรู้ว่าการสอนโดยไม่ต้องดุ ไม่ต้องว่า เด็กก็สามารถทำได้ดีเหมือนกัน”
อีกทั้ง ผอ.อนงค์ อรุณราช ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “เราจะไม่มีการทิ้งเด็กไว้ข้างหลังและจะไม่สนใจแต่เด็กเก่ง ไม่เลือกปฏิบัติ และจะไม่เลือกพัฒนาเฉพาะด้าน แต่จะพัฒนาเด็ก ๆ ในทุกด้านให้ดีไปพร้อมกันทุกคน”
ทั้งนี้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และกลุ่มบีอีซี ขอร่วมสนับสนุน และเป็นกำลังใจให้กับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตลอดจนขอเป็นกำลังใจให้กับคุณครูและบุคลากรทางด้านการศึกษาทั่วประเทศ และช่อง 3 จะยังคงมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมด้านการศึกษา และให้ความสำคัญกับสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
Related News
26 มีนาคม 2567
ปิดเพื่อเปลี่ยน ปิดให้โลกได้พัก
อ่านเพิ่มเติม
22 กุมภาพันธ์ 2565
ช่อง 3 ต่อยอดกิจกรรม “ทิ้งดีวีดีอย่างถูกวิธี ทำความดีต้อนรับปีขาล”
อ่านเพิ่มเติม
22 กุมภาพันธ์ 2561
ช่อง 3 ชวนธรรมดี นำนักแสดง-ผู้จัดละคร คุณแม่สวมรอย ทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา 2561
อ่านเพิ่มเติม
08 กรกฎาคม 2560
ช่อง 3 ชวนร่วมพิธีถวายเทียนพรรษา ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
อ่านเพิ่มเติม